2582 จำนวนผู้เข้าชม |
นั่งผิดท่า ระวัง !! กระดูกสันหลังเสื่อม
ในวันที่ยังมีสุขภาพร่างกายปกติ แข็งแรงดี เรื่องเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังเสื่อม แทบจะไม่อยู่ในความคิดของใครหลายๆคน เพราะอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว และคิดว่ามันคงไม่เกิดขึ้นกับตัวเรา แต่หารู้ไม่ว่าพฤติกรรมต่างๆที่เราทำอยู่ในชีวิตประจำวัน อาทิ การนั่งผิดท่าเป็นเวลานานๆโดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม นั้นส่งผลให้คุณมีโอกาสเป็นโรคกระดูกหลังเสื่อมได้ บทความนี้ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Hara Chair จะมาแนะนำให้รู้จักกับโรคนี้กันมากขึ้นครับ
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) คืออาการที่ หมอนรองกระดูก เส้นเอ็นกระดูก ข้อต่อ กระดูกและ กล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพ เป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังน้อยลงและติดกันแข็งมากขึ้น อาการเสื่อมมักเป็นที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว (LOW BACK) กระดูกสันหลังส่วนอก ( THORACIC SPINE) และกระดูกสันหลังส่วนคอ ( CERVICAL SPINE) ปกติโรคนี้จะพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันเริ่มพบในผู้ป่วยที่มีช่วงอายุน้อยกว่ามากขึ้น จุดสังเกตุที่จะต้องตั้งข้อสงสัยคือ คือ เมื่อรู้สึกว่าความสามารถในการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น ขา เท้า แขน มือ เกิดอาการอ่อนแรงและมีอาการชา ควรรีบพบแพทย์ เพื่อช่วยตรวจรักษาและป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังเสื่อมเพิ่ม
อาการของกระดูกสันหลังเสื่อม
อาการของกระดูกสันหลังเสื่อมจะปรากฎอาการปวดคอหรือปวดหลังแบบเป็น ๆ หาย แต่ผู้ป่วยบางรายอาจประสบกับอาการปวดเรื้อรัง หรือในบางครั้งอาการปวดอาจจะรุนแรงขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง อาการอื่นๆของกระดูกสันหลังเสื่อมมีดังนี้
1.อาการกระดูกคอเสื่อม
อาการที่พบบ่อยได้แก่
ปวดต้นคอเรื้อรัง อาจมึนร้าวไปถึงปวดศีรษะตอนล่างๆ ที่ติดกระดูกคอ ปวดร้าวลงไหล่ และอาจมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อหน้าอกร่วมด้วย
กล้ามเนื้อคอแข็งแกร่ง
เจ็บ เสียว ชา หรือแปลบเหมือนหนามแทงบริเวณแขน มือ ขา และเท้า
กล้ามเนื้อมืออาจลีบกว่าปกติ
แขนขาชาและอ่อนแรง หยิบจับของไม่มั่นคงเหมือนเดิม
เดินไม่มั่นคงเหมือนเก่า เซได้ง่าย
กลั่นอุจจาระ ปัสสาวะ หรือผายลม ไม่ค่อยอยู่
2.อาการกระดูกเอวเสื่อม
อาการที่พบบ่อย ได้แก่
ปวดหลังเรื้อรัง ปวดหลังในส่วนที่เกิดโรค มักปวดบริเวณกระเบนเหน็บ อาจร้าวลงมายังขาและเท้า อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อนั่ง ยืน เดิน ก้ม ไอหรือจามแรงๆ หรือหัวเราะดังๆ
ขา เท้า และนิ้วเท้าชา ชาและเท้าไม่มีแรง มักเกิดเพียงด้านเดียวกับที่ปวด อาจชารอบ ๆ ก้นกบ
อาจมีกล้ามเนื้อขาลีบ
กลั่นอุจจาระ ปัสสาสะ หรือผายลม ไม่อยู่
สาเหตุของกระดูกสันหลังเสื่อม
กระดูกสันหลังเสื่อม คือการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จากการที่กระดูกสันหลังโค้งงอเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดแรงกดบนหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง และเสียความยืดหยุ่นไป ยกตัวอย่างเช่น การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม พอลุกจากเก้าอี้กระดูกสันหลังจะถูกทำให้ตรงในทันทีจึงทำให้เกิดการเสียดทานขึ้น ร่างกายจึงสร้างกระดูกงอกออกมาจากข้อต่อเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ในบางครั้งกระดูกที่งอกขึ้นมานั้นมีขนาดใหญ่เกินไปจนเบียดกับเส้นประสาทและไขสันหลังทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งมักพบทั่วไปในผู้สูงอายุ
การรักษากระดูกสันหลังเสื่อม
ในกรณีที่ ผู้ป่วยสามารถรักษาตนเองได้ในบื้องต้น เช่น การประคบเย็นหรือประคบร้อนในบริเวณที่ปวด การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หากยังไม่ดีขึ้น อาจจะมีการใช้วิธีกายภาพบำบัด การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง หรือหากอาการรุนแรงมาก ก็มีความจำเป็นที่จะใช้การผ่าตัด เข้ามาช่วยรักษา ซึ่งวิธีนี้อาจจะมีผลข้างเคียงที่ตามมาในหลายๆด้าน อย่างไรก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้มั่นใจก่อนทำการรักษา
- รักษาด้วยยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่มี
ประสิทธิภาพมากที่สุดต่ออาการกระดูกสันหลังเสื่อม และยาทั่วไปที่ใช้กันได้แก่ ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาพรอกเซน (Naproxen)
- ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาที่ใช้ลดการปวด หาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่หากไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้องอาจส่งผล เสียต่อตับได้
- รักษาด้วยยาตามใบสั่งแพทย์
- การทำกายภาพบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวและความแข็งแรง บางกรณีนักกายภาพบำบัดอาจใช้วิธียืดกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาท ให้มีช่องระหว่างกระดูกสันหลังมากขึ้น เพื่อช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยลง
- การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลังช่วยลดอาการปวดและแผลที่อักเสบบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง
- การผ่าตัดมีหลายประเภท เช่น การผ่าตัดเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังหรือการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกกสันหลังเทียม แพทย์มักแนะนำวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทที่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกของเส้นประสาทถูกกดทับได้แก่ กล้ามเนื้อขาลีบ ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือระบบควบคุมการขับถ่ายสูญเสียไป นอกจากนี้ การผ่าตัดจะถูกนำมาพิจารณาก็ต่อเมื่อการรักษาโดยวิธีอื่น ๆ นั้นใช้ไม่ได้ผล ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง ทั้งนี้การผ่าตัดอาจจะช่วยป้องกันอาการไม่ให้แย่ลง แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ภาวะแทรกซ้อนของกระดูกสันหลังเสื่อม
เมื่อกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น
- ปอดติดเชื้อเป็น ๆ หาย ๆ
- แผลกดทับ
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็น ๆ หาย ๆ
- อัมพาตครึ่งล่าง
- อัมพาตแขนขาสองข้าง
- การกดทับไขสันหลังบริเวณคอ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดกระดูกสันหลังเสื่อม มีดังนี้
- อัมพาต อาจเกิดขึ้นได้หากเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทไขสันหลังถูกทำลายหรือมีเลือดออกในช่องไขสันหลังหลังจากการผ่าตัด
- อาการแผลติดเชื้อหลังการผ่าตัด อาการนี้ไม่ค่อยร้ายแรงและรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
- เส้นประสาทถูกทำลาย ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดขึ้น แต่ผลข้างเคียงนี้ก็ส่งผลให้ร่างกายไร้ความรู้สึกหรือเป็นเหน็บชาแบบถาวรได้
- อาการแทรกซ้อนจากการใช้ยาชา ซึ่งมีโอกาสได้เกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่น หัวใจวาย มีลิ่มเลือดในปอด (Pulmonary Embolism) หรืออาการแพ้อย่างรุนแรง
การป้องกันกระดูกสันหลังเสื่อม
เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่มักต้องเผชิญกับอาการปวดหลังและคอ แต่สามารถป้องกันกระดูกสันหลังเสื่อมด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
-นั่งในท่าที่ดี ควรนั่งตัวตรง มีหมอนหรือเบาะรองระหว่างหลังเก้าอี้เพื่อรองรับส่วนบั้นเอว เท้าทั้งสองข้างแตะพื้นพอดี โดยการวางข้อศอกสองข้างบนโต๊ะจะช่วยลดอาการตึงบริเวณบ่าและคอหากต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ ได้
-จัดให้คอมพิวเตอร์สูงพอดีในระยะสายตา ช่วยให้สายตาของคุณมองต่ำลงมาเป็นมุม 15-20 องศา เพื่อลดอาการตึงบริเวณคอ
-พักการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะ ๆ ผลัดนั่งตัวตรงเป็นเวลา 10-15นาที แล้วลุกขึ้นเดิน ยืดเส้นยืดสายบ้าง
-ออกกำลังกายโดยใช้ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อและท่าเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
-หลีกเลี่ยงการก้ม ๆ เงย ๆ
-ไม่นั่งหรือทำกิจกรรมที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ
-ไม่ยกของหนัก (อาจหาคนช่วยหรือใช้เครื่องผ่อนแรง)
-ระมัดระวังไม่ให้หลังได้รับการกระทบกระเทือนหรืออุบัติเหตุ
เมื่อนั่งนานๆร่างกายจะปรับเปลี่ยนท่านั่งเพื่อหลีกเหลี่ยงความเจ็บปวดให้อัติโนมัติและทำให้เรานั่งผิดท่าโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม Hara Chair คือเก้าอี้เพื่อสุขภาพ ที่จะทำให้คุณหมดปัญหาเรื่องการนั่ง เพราะเบาะนั่งแยก 2 ชิ้น จะช่วยให้เกิดการกระจายแรงกดทับจากการนั่ง ทำให้ไม่รู้สึกปวดก้นในขณะนั่ง และการออกแบบของเก้าอี้เพื่อสุขภาพ Hara Chair จะช่วยให้เรา "นั่งได้ถูกท่า" อย่างอัติโนมัติ เนื่องจากร่างกายของเราไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาการเจ็บปวดต่างๆจากการนั่ง มีการออกแบบเพื่อรองรับในทุกๆสรีระ มีฟังชั่นการปรับอย่างยืดหยุ่น เหมาะกับการนำไป นั่งทำงานเป็นเวลานานๆได้เป็นอย่างดี อย่าให้การนั่ง...ทำร้ายคุณ