2849 จำนวนผู้เข้าชม |
เคยสังเกตุตัวเองบ้างหรือไม่ ว่าพฤติกรรมต่างๆในชีวิตของเรา มีความเสี่ยงหรืออาจเป็นการสะสมสิ่งที่จะก่อให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมโดยไม่รู้ตัว Hara Chair เก้าอี้เพื่อสุขภาพ อยากให้ทุกท่านตระหนักถึง การดูแลรักษา"กระดูกสันหลัง"ของเรา เพราะเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆต่อการดำเนินชีวิต
หมอนรองกระดูกเสื่อม คือ การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกหรือชั้นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ซึ่งหมอนรองกระดูกนี้มีหน้าที่ลดแรงกระแทกและกระจายแรงของน้ำหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลัง ช่วยให้คนเราเคลื่อนไหวในท่าทางต่าง ๆ ได้ หมอนรองกระดูกเสื่อมอาจเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น การอยู่ในอิริยาบทบางท่าซ้ำ ๆ น้ำหนักตัว และการได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดเพียงเล็กน้อยหรือปวดอย่างรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันก็ได้
อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม
ผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเสื่อมบางคนอาจไม่มีอาการเจ็บปวด บางคนรู้สึกปวดอย่างรุนแรงจนรบกวนการทำกิจวัตรประจำวันโดยลักษณะอาการปวดของภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมที่พบได้บ่อย มีดังนี้
- ปวดบริเวณหลังส่วนล่าง และอาจปวดลามไปถึงขาและสะโพก
- หากปวดบริเวณลำคออาจปวดลามไปถึงแขน
หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดขึ้นได้กับกระดูกสันหลังทุกส่วน แต่พบบ่อยบริเวณเอวและคอ นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ยังเสี่ยงเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังตามมา ได้แก่ โรคข้อเสื่อม โรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ และโรคกระดูกทับเส้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแรงกดต่อกระดูกสันหลังและเส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดและกระทบต่อการทำงานของเส้นประสาท
สาเหตุของหมอนรองกระดูกเสื่อม
หมอนรองกระดูกมีองค์ประกอบสำคัญ คือ น้ำ ซึ่งสัดส่วนของน้ำจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้หมอนรองกระดูกมีความยืดหยุ่นลดลงและไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ดังเดิม ทำให้เกิดความรู้สึกปวดและมีอาการอื่น ๆ ของโรคนี้ตามมา ภาวะการเสื่อมสภาพนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วง 30-40 ปี จากนั้นจะมีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปนั้นมีปัญหาหมอนรองกระดูกเสื่อมกันแทบทุกคน แต่บางคนอาจไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด
นอกจากนี้ การได้รับบาดเจ็บบริเวณหลังหรือการทำกิจกรรมที่เกิดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เช่น การเล่นกีฬาบางอย่าง หรือการทำอาชีพที่ต้องยกของหนัก อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ รวมถึงการได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ การมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
การวินิจฉัยหมอนรองกระดูกเสื่อม
ในขั้นแรกแพทย์จะซักอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และประวัติการรักษาโรค รวมทั้งสอบถามถึงการได้รับบาดเจ็บ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และกิจกรรมที่คาดว่าอาจเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดบริเวณคอ หลัง สะโพก ขา หรือแขน จากนั้นจึงตรวจร่างกายเบื้องต้นด้วยการให้ผู้ป่วยลองเคลื่อนไหวในท่าทางต่าง ๆ แล้วดูว่ารู้สึกเจ็บหรือไม่ ตรวจดูการฟกช้ำและอาการผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับเส้นประสาท ปฏิกิริยาการโต้ตอบของร่างกาย และประเมินว่ามีกระดูกแตกหัก เนื้องอก หรือการติดเชื้อหรือไม่
หากสันนิษฐานว่าผู้ป่วยมีประวัติและอาการเข้าข่ายภาวะร้ายแรงหรือมีอาการหลังจากได้รับบาดเจ็บ แพทย์อาจใช้การตรวจด้วยการถ่ายภาพบริเวณกระดูกสันหลัง เช่น การเอกซเรย์ การทำ MRI Scan เป็นต้น เพื่อดูความเสียหายของหมอนรองกระดูกและเป็นการตรวจคัดกรองโรคที่อาจมีอาการคล้ายกันไปด้วยในตัว
การรักษาหมอนรองกระดูกเสื่อม
การรักษาหมอนรองกระดูกเสื่อมมุ่งไปที่การบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น โดยอาจใช้วิธีต่อไปนี้
การประคบร้อนหรือประคบเย็น การประคบด้วยถุงน้ำแข็งหรือถุงร้อนบริเวณที่มีอาการจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นได้ การประคบเย็นสามารถช่วยลดอาการปวด ส่วนการประคบร้อนจะช่วยลดการอักเสบที่เป็นสาเหตุของอาการปวด
การใช้ยา ได้แก่ ยาบรรเทาอาการปวดอย่างพาราเซตามอล และยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์อย่างไอบูโพรเฟน ในบางรายแพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่านี้ และเพื่อความปลอดภัย ควรอ่านคำเตือนในฉลากก่อนใช้ยาให้ละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยสามารถขอคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดเกี่ยวกับท่าออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบหมอนรองกระดูกสันหลังที่เสื่อม รวมถึงเพิ่มการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดและบวมอักเสบลดน้อยลงและเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น เช่น การยืดกล้ามเนื้อ โยคะ เป็นต้น ผู้ป่วยต้องทำไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องจึงจะค่อย ๆ เห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
การผ่าตัด หากมีภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมอย่างรุนแรง อาการปวดไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงหลังเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อกระดูกบริเวณนั้น ๆ หรือผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเอาหมอนกระดูกที่เสื่อมออก แล้วแทนที่ด้วยหมอนกระดูกเทียมที่ทำจากโลหะหรือพลาสติก
ภาวะแทรกซ้อนของหมอนรองกระดูกเสื่อม
ผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอาจเกิดโรคข้อเสื่อมที่บริเวณหลังตามมาได้ หากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและบางหรือแตกออกจนทำให้ข้อกระดูกสันหลังสีกัน นำมาซึ่งอาการปวดและข้อฝืดบริเวณหลัง ส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างได้
นอกจากนี้ อาการปวดจากหมอนรองกระดูกเสื่อมอาจทำให้ผู้ป่วยไม่อยากเคลื่อนไหวมาก ซึ่งไม่เป็นผลดีนัก เพราะอาจเสี่ยงมีอาการปวดรุนแรงยิ่งขึ้น กล้ามเนื้อหลังยืดหยุ่นได้น้อยลง กล้ามเนื้อตึงตัว เกิดลิ่มเลือดในขา หรือมีภาวะซึมเศร้าได้
การป้องกันหมอนรองกระดูกเสื่อม
เนื่องจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมนั้นมีสาเหตุหลักมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น จึงไม่อาจป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาจช่วยป้องกันการเสื่อมของหมอนกระดูกก่อนวัยอันควร เช่น ระมัดระวังไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ เลี่ยงการทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังซ้ำ ๆ เลิกสูบบุหรี่ คงน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ เป็นต้น ส่วนผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้อยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการลงน้ำหนักที่บริเวณกระดูกสันหลังมากเกินไปอย่างการยกของหนักหรือการนั่งนาน ๆ เพื่อลดความรุนแรงของอาการ
อ้างอิงข้อมูลจาก www.pobpad.com
Hara Chair เป็นเก้าอี้เพื่อสุขภาพนวัตกรรมใหม่ ที่แตกต่างจากเก้าอี้สุขภาพทั่วไป ซึ่งพัฒนามาจากหลักการของการนั่งสมาธิ ช่วยกระจายแรงกดทับของน้ำหนักตัวบริเวณกระดูกก้นกบ ทำให้รู้สึกสบายขณะที่เรานั่งและทำให้ได้ท่านั่งที่ถูกต้อง Hara chair เก้าอี้เพื่อสุขภาพ เป็นการดีไซน์เพื่อตอบรับกับสรีระของร่างกายทำให้ Hara chair เก้าอี้เพื่อสุขภาพตัวนี้ เหมาะสมกับทุก Life Style ไม่ว่าจะนั่งทำงานหรือนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ให้ Hara chair เป็นสินค้า นวัตกรรมจากประเทศเกาหลี และได้รับการรับรองว่าเป็นเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูง จาก "องค์การอาหารและยาจากประเทศสหรัฐอเมริกา"(FDA)