23715 จำนวนผู้เข้าชม |
บทความนี้ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Hara Chair จะมาพูดถึง 7 ลักษณะของเก้าอี้ที่เหมาะสมกับการทำงาน ซึ่งหลายๆคนมองข้าม ที่จะใส่ใจในการเลือกเก้าอี้ ที่จะช่วยป้องกันให้เราห่างไกลจากโรคที่เกียวข้องกับการทำงานโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง ต่างๆ อาทิ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด หรือ การทำให้เราต้องเป็นคนเดินหลังค่อมหลังงงอ โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเก้าอี้ไม่ได้รองรับสรีระ นั้นทำให้เรานั่งผิดท่าโดยไม่รู้ตัว ในทางตรงกันข้ามเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ดีจะรองรับสรีระและทำให้เรานั่งได้ถูกท่าโดยอัติโนมัติจากการออกแบบที่ดีกว่าเก้าอี้ปกติทั่วไป
1.ต้องลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง
ในการศึกษาพบว่าหากให้พนักพิงมีมุมเอนระหว่าง 100-130 องศา แรงดันที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังจะน้อยที่สุด ดังนั้นการออกแบบที่ช่วยลดแรงกดที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังจะช่วยรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังไม่ให้รับน้ำหนักมากเกินไป ทำได้จากการออกแบบให้พนักพิงให้มีลักษณะเป็นมุมเอนกับแนวระนาบ
จากการวัดค่าแรงดันที่กระทำกับหมอนรองกระดูกสันหลัง นอกจากการให้พนักพิงทำมุมเอนกับแนวระนาบแล้ว การเพิ่มที่พักวางแขนก็ช่วยลดแรงกดที่กระทำต่อหนอนรองกระดูกสันหลังด้วย
2. สามารถปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้
ในการทำงานไม่ควรจำกัดท่านั่งในท่าเดิมอยู่ตลอดเวลา เพราะการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานๆจะทำให้หมอนรองกระดุกสันหลังเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากความสามารถหมุนเวียนสารอาหารและของเสียของร่างกายได้ลดน้อยลง นอกจากนั้นยังมีส่วนให้เกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังและหัวไหล่ได้
และทำให้เลือดไหลสู่ส่วนขาและเท้าไม่สะดวกส่งผลทำให้เกิดอาการเหน็บชา ดังนั้นเก้าอี้ที่ดีควรมีลักษณะที่สามารถเคลื่อนไหวหรือปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้ ดังนั้นการออกแบบเก้าอี้จึงควรมีขนาดที่ไม่แคบจนเกิดไปจนมีลักษณะที่บีบหรือเป็นซองแคบ นอกจากนี้อาจออกแบบให้มีลักษณะที่สามารถหมุน โยก หรือ ปรับเอนได้ก็จะเป็นการช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้สะดวกและง่ายขึ้น
3. ช่วยทำให้กระดูกสันหลังโค้งแบบลัมบาร์ลอร์โดซิส
การออกแบบดังกล่าวจะช่วยให้มีแรงเค้นกดเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูกสันหลังช่วงลัมบาร์มีปริมาณน้อยคล้ายกับลักษณะของกระดูกสันหลังในท่ายืนตรงตามมาตรฐานของกายวิภาคนั่นเอง ลักษณะดังกล่าวอาจทำได้โดยการเสริมพนักพิงให้มีลักษณะโค้งรับกับกระดูกสันหลัง
4. มุมลาดเอียงแผ่นรองนั่งกับพนักพิงที่เหมาะสม
ความลาดเอียงของแผ่นรองนั่งกับพนักพิงเก้าอี้ควรสัมพันธ์กัน ทั่วไปแล้วเก้าอี้ทำงานหรือเก้าอี้รับประทานอาหารควรมีลาดเอียงประมาณ 93-105 องศากับแนวระนาบ โดยให้แผ่นรองนั่งลาดเอียงจากแนวระนาบประมาณ 0-8 องศา ด้วย การลาดเอียงดังกล่าวเป็นมุมที่เหมาะสมในการนั่ง เพราะจะช่วยให้สะโพกและแผ่นหลังแนบกับแนวเก้าอี้จึงมีช่วยในการกระจายน้ำหนักสู่เก้าอี้ได้ดี นอกจากนั้นยังเป็นมุมที่เหมาะสมสำหรับการโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อทำงานหรือตักอาหาร หากมุมลาดเอียงมากหรือน้อยกว่านี้ จะทำให้การโน้มตัวไปข้างหน้าต้องใช้ระยะมากเกิน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัวได้หรือเกร่งตัวได้ เป็นสาเหตุของอาการเมื่อยล้า
สำหรับเก้าอี้เพื่อการพักผ่อนควรมีมุมลาดเอียงของแผ่นรองนั่งกับพนักพิงประมาณ 110-115 องศากับแนวระนาบหรือประมาณ115-127 องศากับแนวระนาบ ถ้าต้องการผ่อนคลายมาก และอาจมีมุมเอียงของที่นั่ง 7-25 องศา ซึ่งเป็นมุมที่เหมาะสมกับการนั่งพักผ่อนในลักษณะต่างๆ
5. คำนึงถึงความสูงที่เหมาะสม
ความสูงของเก้าอี้ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเค้นกดที่ต้นขาด้านล่างได้ โดยทั่วไปความสูงที่เหมาะสมสำหรับเก้าอี้ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆไปจะอยู่ระหว่าง 38-43 เซนติเมตร และความสูงที่เหมาะสมสำหรับเก้าอี้พักผ่อนจะอยู่ระหว่าง 30-40 เซนติเมตร
โดยช่วงความสูงดังกล่าวเป็นความสูงที่ทำให้ข้อพับด้านหลังของเข่าสัมผัสกับความสูงของเก้าอี้อย่างพอดี แรงกดจากการนั่งบริเวณต้นขาจะมีน้อย ถ้าหากความสูงของเก้าอี้สูงเกินไป จะทำให้สะโพกของผู้นั่งเลื่อนไปด้านหน้า ทำให้ลำตัวโน้มไปทางด้านหน้า ขาดการรองรับบริเวณหลังของพนักพิง และทำให้เกิดแรงเค้นกดมากขึ้นที่บริเวณต้นขา ในขณะที่ความสูงของเก้าอี้ต่ำเกินไปจะทำให้ขาดการกระจายแรงกดหรือน้ำหนักบริเวณกระดูกก้นกบอย่างเหมาะสม กรณีที่เก้าอี้ที่มีความสูงเกินมาตรฐานควรเพิ่มหรือใช้ที่รองเท้าเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยลดแรงเค้นกดจากการนั่งบริเวณต้นขา
6. คำนึงถึงความยาวของพนักพิงและรูปทรงของพนักพิง
พนักพิงสำหรับเก้าอี้ทำงานและเก้าอี้รับประทานอารควรมีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร หรือสูงไม่เกินไหล่ และเก้าอี้เพื่อการพักผ่อนควรมีความยาวประมาณ 50-80 เซนติเมตร หรือไม่ควรต่ำกว่าช่วงล่างสุดของไหล่ ในกรณีที่เป็นเก้าอี้ที่ไม่รองต้นคอและศีรษะ ถ้าเป็นเก้าอี้ที่มีมุมลาดเอียงของพนักพิงมากควรมีส่วนรับต้นคอและศีรษะ
ควรเพิ่มความสูงขึ้นไปอีกประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อช่วยกล้ามเนื้อและพยุงต้น สำหรับความกว้างของพนักพิงควรมีความกว้างน้อยที่สุดประมาณ 30 เซนติเมตร
7.การออกแบบโดยคำนึงถึงความลึกและความกว้างที่เหมาะสม
ความลึกและความกว้างของเก้าอี้นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของเก้าอี้ว่าเป็นเก้าอี้ที่ใช้ประโยชน์อย่างไร เช่น เก้าอี้ในการทำงานหรือเก้าอี้เพื่อการพักผ่อนนอกจากนั้นความเหมาะสมยังขึ้นอยู่กับสัดส่วนของผู้ใช้ที่แตกต่างกันแต่ตามหลักการที่เหมาะสมควรเลือกขนาดสัดส่วนความลึกจากผู้ใช้ที่มีสัดส่วนเล็กหรือผู้ที่มีระยะจากสะโพกถึงข้อพับเข่าด้านในสั้นมาเป็นเกณฑ์ในการใช้งาน
ทั้งนี้เพราะหากคนตัวเล็กนั่งบนแผ่นรองนั่งที่มีความลึกมากการเอนแผ่นหลังของผู้ใช้อาจจะไม่สัมผัสกับพนักพิงหรือเกิดช่องว่างระหว่างแผ่นหลังกับพนักพิงได้ และระยะความลึกที่ใช้ควรเว้นให้มีช่องว่างระหว่างข้อพับเข่ากับขอบนอกของเก้าอี้หรือแผ่นรองนั่งประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อลดแรงเค้นกดที่กระทำที่ต้นขา สำหรับความลึกของเก้าอี้ในการทำงานหรือเก้าอี้นั่งรับประทานอาหารจะมีความลึกประมาณ 35-42 เซนติเมตร และความลึกของเก้าอี้เพื่อการพักผ่อนมีความลึกประมาณ 45-53 เซนติเมตร จากการสังเกตสัดส่วนของเก้าอี้ในการทำงาน
สำหรับความกว้างของเก้าอี้นั้นการเลือกใช้มีหลักเกณฑ์คล้ายกับความลึก โดยการพิจารณาต้องคำนึงถึงประเภทของเก้าอี้และสัดส่วนของผู้ใช้ แต่ในรายละเอียดของสัดส่วนของผู้ใช้จะนำขนาดสัดส่วนของผู้ใช้ที่มีสัดส่วนใหญ่มาใช้กับขนาดความกว้างของเก้าอี้ซึ่งมีความแตกต่างกับการพิจารณาเลือกใช้เพื่อให้ได้ความลึกของเก้าอี้ เพราะขนาดความกว้างสำหรับผู้ใช้ที่มีสัดส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผู้ใช้ในกลุ่มอื่นๆด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก letterplanet.com
Hara Chair เป็นเก้าอี้เพื่อสุขภาพนวัตกรรมใหม่ ที่แตกต่างจากเก้าอี้สุขภาพทั่วไป ซึ่งพัฒนามาจากหลักการของการนั่งสมาธิ ช่วยกระจายแรงกดทับของน้ำหนักตัวบริเวณกระดูกก้นกบ ทำให้รู้สึกสบายขณะที่เรานั่งและทำให้ได้ท่านั่งที่ถูกต้อง Hara chair เก้าอี้เพื่อสุขภาพ เป็นการดีไซน์เพื่อตอบรับกับสรีระของร่างกายทำให้ Hara chair เก้าอี้เพื่อสุขภาพตัวนี้ เหมาะสมกับทุก Life Style ไม่ว่าจะนั่งทำงานหรือนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ให้ Hara chair เป็นสินค้า นวัตกรรมจากประเทศเกาหลี และได้รับการรับรองว่าเป็นเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูง จาก "องค์การอาหารและยาจากประเทศสหรัฐอเมริกา"(FDA) คลิกอ่านต่อ.. >> https://www.harachairthailand.com/content/11716